การเก็บตัวอย่างสำหรับ Control Chart
ความถี่และขนาดตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างแผนภูมิควบคุม
ในการออกแบบแผนภูมิควบคุมจะต้องกำหนดทั้งขนาดตัวอย่างและความถี่ของการสุ่มตัวอย่าง โดยปกติขนาดตัว อย่างที่โตกว่าจะตรวจจับ Small Shift ได้ง่ายกว่า ซึ่งจะต้องทำการเก็บข้อมูลจากกระบวนการผลิตมาจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างแผนภูมิควบคุม ขนาดตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อ มูลแต่ละครั้งและความถี่ในการเก็บข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเลือก เช่น ถ้าใช้แผนภูมิ X ควบคุมค่าเฉลี่ยของกระบวนการผลิต เมื่อกระบวนการผลิตดำเนินไปในแต่ละวันค่าเฉลี่ยของกระบวนการ ผลิตอาจไม่คงที่ โดยอาจมีค่าเปลี่ยนแปลงไปมากบ้างน้อยบ้าง ค่าความน่าจะเป็นที่จุดต่าง ๆ ใน แผนภูมิจะตกอยู่นอกขีดจำกัดควบคุมจะต่างกันเมื่อขนาดตัวอย่างต่างกัน โดยจะมีค่าแปรเปลี่ยนตามขนาดตัวอย่าง แสดงว่าเมื่อขนาดตัวอย่างใหญ่ขึ้นจะสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยได้ดีขึ้น ดังนั้นการเลือกขนาด ตัวอย่างต้องพิจารณาว่าถ้ากระบวนการผลิตเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก ต้องพยายามตรวจจับการเปลี่ยนแปลงโดยการ เพิ่มขนาดตัวอย่าง แต่ถ้าความเปลี่ยนแปลงลดลงแล้วก็สามารถลดขนาดตัวอย่างลงได้ เป็นต้น
การกำหนดความถี่ของการสุ่มตัวอย่างจากการตรวจจับ Shift คือการสุ่มตัวอย่างขนาดโตด้วยความถี่สูง แต่การกำหนดการสุ่มตัวอย่าง อาจจะหมายถึงการสุ่มตัวอย่างขนาดเล็กในช่วงสั้น ๆ หรือขนาดตัวอย่าง โตในช่วงที่ยาวกว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมจะนิยมขนาดตัวอย่างเล็กในความถี่ที่สูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน กระบวนการผลิตสินค้าปริมาณสูง โดยปกติถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในกระบวนการผลิต ก็จะทำการสุ่ม ตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความถี่ในการเก็บข้อมูลสูง แต่อาจจะมีปัญหาทางด้านค่าใช้จ่ายที่จะสูงตามมา ดังนั้น ทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือ เมื่อขนาดตัวอย่างเล็ก ความถี่ในการเก็บข้อมูลควรจะสูง แต่ถ้าขนาดตัวอย่างใหญ่ ความถี่ในการเก็บข้อมูลควรจะต่ำ นั่นคือเหตุผลที่ว่าในโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยขนาด ตัวอย่างเล็กแต่เก็บบ่อย ๆ ดังนั้นการกำหนดขนาดตัวอย่างและความถี่ในการเก็บข้อมูล อาจต้องพิจารณา ทั้งในแง่ของการประหยัดแต่เชื่อถือได้ในแง่ของหลักวิชาการทางด้านสถิติ
0 Response to "การเก็บตัวอย่างสำหรับ Control Chart"
Post a Comment